วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555



ท่าเต้นพื้นฐาน

         1. การย่ำเท้า Marching คือ การย่ำเท้าอยู่กับที่ ส่วนใหญ่แล้วจะย่ำเท้า 2 แบบคือ แบบกว้าง          ( Marching Out ) และแบบแคบ( Marching In )

         2. การเดิน ( Walking ) คือ การก้าวเท้าไปยังทิศทางที่เคลื่อนที่ไป มีการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง การเดินนั้นสามารถเดินไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือเฉียง หรือเดินเป็นรูป

         3. ก้าวรูปสี่เหลี่ยม ( Easy Walk ) คือ การก้าวเดินไปข้าง 1 ก้าว ถอยหลัง 1 ก้าว ลักษณะคล้าย V-step แต่วางเท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรืการก้าวเดิน

         4. การก้าวแตะ ( Step Touch สเต็ปทัช) คือ การยกเท้าหนึ่งไปด้านข้างแล้วยกเท้าอีกข้างหนึ่งไปแตะแล้วทำสลับกัน ทิศทางการเคลื่อนไหวจะเป็นการก้าวแตะที่อยู่กับที่ หรือทำเป็นรูปตัวแอล หรือก้าวแตะหมุนรอบตัวเองก็ได้

          5. ส้นเท้าแตะ ( Hell Touch ฮีลทัช) คือการแตะด้วยส้นเท้าข้างใดข้างหนึ่ง โดยแตะข้างหน้าหรือด้านหลังก็ได้

          6. ปลายเท้าแตะด้านข้าง ( Side Tap ไซด์แทบ) คือการแตะด้วยปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งโดยแตะด้านข้างหน้าซ้าย-ขวา สลับกัน

          7. การยกส้นเท้า ( Lek Curl เล็คเคอ) คือการยกส้นเท้าขึ้นไปที่สะโพกด้านหลัง หรือการพับส้นเท้าไปด้านหลัง การทำ Hamstring Curl หรือ Hamstring Curl Lek Curl นั้นทำได้ทั้งที่อยู่กับที่หรือหมุนรอบตัวเอง (แฮมสตริงเคอ)

          8. ก้าวไขว้ก้าวแตะ ( Grapevine เกรพวาย ก้าวไขว้ก้าวแตะ หรือเกรพวายคือการทำก้าวไขว้ขาไปหลังหรือหน้าก็ได้ การทำเกรพวายนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เกรพวายธรรมดา หรือเกรพวายเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเกรพวายหมุน 180 องศา

          9. แมมโบ้ ( Membo ) คือการก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งไปข้างหน้าแล้วย่อเข่าลงแล้วนำกลับสู่ที่เดิม และเปลี่ยนข้างทำ การทำแมมโบ้สามารถทำได้ทั้งข้างหน้าและด้านข้างก็ได้

          10. ยกเข่า ( Knee Up นีอัพ) เป็นท่าการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการพัฒนากล้ามเนื้อขาหรือ Knee Lift ได้อย่างดีดังนั้นแอโรบิก ด๊านซ์ทุกประเภทจึงมีท่าการยกเข่าทั้งการยกเข่าด้านหน้า ( Front Knee Lift )หรือ นีลีฟ ด้านข้าง ( Side Knee Lift ) การยกเข่าเฉียง ( Knee Cross )

           11. การแตะขา ( Kick คิก ) การแตะขา ไปใช้ในทิศทางต่าง ๆ ทั้งการแตะไปด้านหน้า             ( foreward ) เฉียง ( cross ) หลัง ( backward )และข้าง( sideward ) การแตะขาที่ถูกต้องควาเป็นการแตะขาไม่ใช่การสะบัดเข่า

          12. ก้าวชิดก้าวแตะ ( Two Step ทูสเต็ป) คือการทำก้าวชิดก้าวแตะ หรือการทำก้าวแตะ 2 ครั้ง

          13. สควอท ( Squats ) คือการนั่งยอง ๆ หรือ ย่อ ยืด ควรนั่งให้มุมสะโพกและเท้าเป็นมุม 90 % เท่านั้น ไม่ควรนั่งให้สะโพกชิดส้นเท้าเพราะจะทำให้เอ็นหรือกระดูกอ่อนที่หัวเข่ายืดมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เข่าเจ็บ

           14. ช่า ช่า ช่า( Cha Cha Cha คือการก้าวใดเท้าหนึ่งไขว้ไปด้านหน้า ย่ำเท้าหลัง แล้วนำเท้ากลับที่ก้าวไปข้างหน้ากลับมา ย่ำ ย่ำ ย่ำ สลับเท้า

           15. ส่ายสะโพก ( Twis ) คือการส่ายสะโพกซ้าย – ขวา สลับกัน

           16. Step Knee คือการย่ำเท้า 1-2 ก้าวขึ้นบน 3 แล้วยกเข่า


                                   ประวัติและความเป็นมาของ แอโรบิกแดนซ์



       ประวัติและความเป็นมาของ แอโรบิกแดนซ์
คำว่า "aerobics" มาจากรากศัพท์กรีกโบราณ แปลว่า "อากาศกับชีวิต" (air - life) ซึ่งมีนัยว่าต้องมีออกซิเจน (Oxygen) เกี่ยวข้องด้วย หมายถึง ความต้องการอากาศ (ออกซิเจน) ของสิ่งมีชีวิตในการดำรงชีิวิตให้อยู่ไ้ด้ในปี ค.ศ. 1965 โดยนายแพทย์ เคนเน็ธ คูเปอร์ ชาวอเมริกัน ได้ให้ความหมายของแอโรบิกส์เอ็กเซอร์ไซส์ (Aerobics Exercise) ว่า "เป็นการส่งเสริมการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและใช้ออกซิเจนนั้น" และยังได้คิดค้นวิธีการออกกำลังกาย โดยเขียนเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องการออกกำลังกายทีต้องอาศัยอากาศ (Aerobics Exercise) ขึ้นในปี ค.ศ.1968 ปรากฎว่าหนังสือได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมจากลุ่มคนทั่วไป เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปฝึกปฏิบัติ และหลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ได้มีการประยุกต์ให้เป็นการออกกำลังกายที่เรียกว่า "แจ๊สเซอร์" โดยครูฝึกเต้นรำจังหวะแจ๊ส ชื่อ จูดี้ เชพพาร์ด มิสเซตต์ ได้นำเอาการฝึกออกกำลังกายแบบ แอโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์มาผสมผสานกับการเต้นรำแจ๊ส ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวอเมริกันในขณะนั้น
ต่อมาในปี ค.ศ 1979 แจ๊กกี้ โซเรนเซ่น ก็ได้คิดค้นและพัฒนาการบริหารร่างกายโดย อาศัยหลักพื้นฐานของแอโรบิกมาประยุกต์ให้เข้ากับจังหวะดนตรี รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวซึ่งต้องอาศัยหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาประกอบด้วย จึงทำให้การออกกำลังกาย ในลักษณะดังกล่าว เกิดความสนุกสนานและก่อให้เกิดประโยชน์ ที่แท้จริงต่อร่างกาย
การออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหว หรือการเต้นไปตามจังหวะเพลง จึงเป็นที่นิยมและรู้จักกันในชื่อที่เรียกดดยทั่วไปว่า แอโรบิกแดนซ์ (Aerobics Dance) และยังได้มีการผลิตเป็น สื่อวิดีโอเทป เทปเพลง รวมทั้งชุดที่สวมใส่ในการเต้นแอโรบิกเพื่อจำหน่าย นี่้เป็นดัชนีที่ช่วยบอกถึงความนิยมในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกส์แดนซ์ ได้เป็นอย่างดี


           คำว่า แอโรบิค หมายถึง "มีชีวิตอยู่ในอากาศ" หรือ "การใช้อ๊อกซิเจน"

การออกกำลังกายแบบแอโรบิคหมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต้องการใช้อ๊อกซิเจนจำนวนมากโดยใช้เวลานาน เพื่อให้ร่างกายสามารถนำอ๊อกซิเจนไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
         การออกกำลังกายที่ใช้เวลาจะทำให้ปอดสูดอ๊อกซิเจนเข้าไปจำนวนมาก อ๊อกซิเจนจะเข้าสู่กระแสโลหิตและถูกสูบฉีด (โดยหัวใจที่ทำงานเต็มที่) ไปเลี้ยงเซลล์ของอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เซลล์ทุกเซลล์ของร่างกายได้รับอาการเต็มที่และขับออกทางลมหายใจ เหงื่อ ปัสสาวะและอุจจาระ ภายหลังการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เซลล์ทั่วร่างกายจึงสะอาดบริสุทธิ์และแข็งแรงเต็มที่
       การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ต้องการกาเคลื่อนไหวช้าๆ แต่ใช้เวลานาน เช่น ในการวิ่งต้องวิ่งช้าๆ สบายๆ แต่ต้องใช้ระยะทางครั้งละ 4-5 กม. และใช้เวลา 30-40 นาที เป็นต้น จึงทำให้ร่างกายอดทนและอึด
     การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นกุญแจที่จะทำให้เกิดสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ และยังก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. ท่านจะมีระดับพลังงานสูงเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน
2. ทำให้ระบบย่อยอาหารดีและท้องไม่ผูก
3. เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักได้อย่างแท้จริงและถาวร
4. กระดูกแข็งแรงและสมบูรณ์แม้จะสูงอายุ
5. เพิ่มสมรรถภาพของสติปัญญาและสมรรถภาพของการทำงาน
6. นอนหลับได้ดีและมีคุณภาพ
7. เป็นวิธีควบคุมความเศร้าซึมและอารมณ์เปลี่ยนแปลงอื่นๆที่ได้ผลดี
8. ผ่อนคลายความเครียดโดยไม่ต้องอาศัยแอลกอฮอล์หรือยา
9. ป้องกันโรคหัวใจและโรคเสื่อมอื่นๆ
10. เป็นการออกกำลังกายที่ให้ผลดีสูงสุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด ( ประมาณ 1 ชม. 20 นาที ต่อสัปดาห์)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

  •      การเต้นแอโรบิคก็เป็นอีกกิจกรรมยอดนิยมสุดๆ ที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปมีการฝึกเต้นกันทั้งในบ้าน ที่ทำงาน ตามสถานฟิสเนส หรือในสวนสาธารณะ สนามกีฬาแทบทุกแห่ง นอกจากความสนุกเพลิดเพลินที่ได้เต้นไปตามจังหวะ ทำให้ร่างกายเกิดความคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อข้อต่อต่าง ๆ ทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่องเป็นจังหวะ ทำให้ร่างกายเกิดความคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อข้อต่อต่าง ๆ ทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง รูปร่างกระชับได้สัดส่วน เป็นผลดีต่อระบบการทำงานของปอดและหัวใจ